การตั้งชื่อโดเมน .th
- ชื่อโดเมน .th แต่ละชื่อจะต้องประกอบด้วยอักษรภาษาอังกฤษ (a-z) และ/หรือ ตัวเลขอารบิค (0-9) โดยชื่อโดเมนต้องมีความยาวอย่างน้อย 2 ตัว แต่ไม่เกิน 63 ตัว
- ชื่อโดเมนประกอบด้วยเครื่องหมายยัติภังค์ “-” (เครื่องหมายขีดสั้น) คั่นระหว่างตัวอักษรหรือตัวเลขได้ ทั้งนี้ไม่อนุญาตให้ใช้ในลำดับเริ่มต้นหรือลงท้ายของชื่อและไม่สามารถใช้เรียงติดกันได้
- ชื่อโดเมนที่เลือกจะต้องใช้ตัวอักษรที่มาจากชื่อภาษาอังกฤษของชื่อต่างๆ ดังต่อไปนี้ ยกเว้นได้ระบุเป็นอย่างอื่นใน นโยบายเฉพาะเจาะจงตามหมวดหมู่ชื่อโดเมน
– กรณีตั้งชื่อโดเมนตามชื่อองค์กรหรือชื่อหน่วยงาน ชื่อที่เลือกนั้นจำเป็นต้องสื่อถึงชื่อองค์กรหรือชื่อหน่วยงานอย่างชัดเจน โดยอาจเป็นชื่อเต็ม ชื่อย่อ คำหรืออักษรย่อที่เป็นส่วนใดส่วนหนึ่งของชื่อองค์กรหรือชื่อหน่วยงาน ทั้งนี้ ไม่อนุญาตให้เพิ่มเติมตัวอักษรหรือตัวเลข
– กรณีตั้งชื่อโดเมนตามชื่อโครงการ ชื่อที่เลือกนั้นจำเป็นต้องสื่อถึงชื่อโครงการนั้นได้อย่างชัดเจน โดยอาจเป็นชื่อเต็ม ชื่อย่อ คำหรืออักษรย่อที่เป็นส่วนใดส่วนหนึ่งของชื่อโครงการ ทั้งนี้ไม่อนุญาตให้เพิ่มเติมตัวอักษรหรือตัวเลข
– กรณีตั้งชื่อโดเมนตามเครื่องหมายการค้า ชื่อนั้นจำเป็นต้องตรงกับเครื่องหมายการค้าทุกประการ ทั้งตัวอักษรและตัวเลข (ไม่อนุญาตให้แปลงเครื่องหมายรูปภาพเป็นชื่อหรือคำหรืออักษรได้) - ชื่อโดเมนจะต้องไม่เป็นคำสงวนและคำเฉพาะ (คำสงวนและคำเฉพาะ)
สำหรับการจดโดเมน .th จะมีเงื่อนไขที่พิเศษกว่าโดเมนสกุลอื่นๆ คือ โดเมนอื่นๆ ที่ไม่ใช่ .in.th จะจดโดเมนได้ต้องเข้าเงื่อนไขที่ทาง THNIC กำหนด
และจะต้องส่งเอกสารให้ทาง THNIC ตรวจสอบด้วย. (กรุณาส่งเอกสารที่ info@knbizmarketing.com เพื่อใช้ในการยื่นจดทะเบียนโดเมน)
เงื่อนไข และเอกสารที่ต้องใช้ จดโดเมนเนม มีดังนี้
ac.th หรือ .ศึกษา.ไทย (สำหรับสถาบันการศึกษาที่รับรองโดยกระทรวงศึกษาธิการหรือหน่วยงานที่มีสถานะเทียบเท่า)
.co.th หรือ .ธุรกิจ.ไทย
สำหรับบุคคลผู้ประกอบธุรกิจ ได้แก่
(1) นิติบุคคลที่จดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
(2) บุคคลที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากร กระทรวงการคลัง
(3) รัฐวิสาหกิจ
(4) บุคคลที่เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าจดทะเบียน กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวง
พาณิชย์
(5) นิติบุคคลหรือเจ้าของเครื่องหมายการค้าต่างประเทศ สามารถแต่งตั้งตัวแทนผู้รับ
มอบอำนาจให้ถือครองชื่อโดเมนโดยตัวแทนต้องเป็นบุคคลตามข้อ (1) หรือ (2)
สามารถพิจารณาได้เป็น 2 แบบ
กรณีที่ 1. จดทะเบียนชื่อโดเมนด้วยชื่อองค์กร
- หนังสือรับรองนิติบุคคล
- เอกสาร ภ.พ.20 (ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
- เอกสาร ทค.0401 หรือ พค.0401 (ทะเบียนการค้า)
- ใบ ภ.พ.01 (ใบคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องได้รับการเซ็นต์รับรองจากเจ้าหน้าที่)
- ใบ ภ.พ.09 (ใบคำขอแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
- หนังสือบริคณห์สนธิ (ต้องได้รับการเซ็นต์รับรองจากเจ้าหน้าที่)
- หนังสือรับรองที่รับรองโดยนิติบุคคลต่างประเทศ
(อย่างใดอย่างหนึ่ง)
กรณีที่ 2. จดทะเบียนชื่อโดเมนด้วยชื่อเครื่องหมายการค้า
- หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
- หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเครื่องหมายบริการ
- หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเครื่องหมายร่วม
- หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเครื่องหมายรับรอง
- หนังสือรับรองโดยผู้ถือครองเครื่องหมายการค้าต่างประเทศ
(อย่างใดอย่างหนึ่ง)